วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ตอนที่ 26


ไธโอมีตัน
(thiometon)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  120-130  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  มากกว่า  1,000  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        ใช้กำจัดแมลงปากดูด  เช่น  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยแป้ง  เพลี้ยไฟ  ไร  แมลงหวี่ขาว
พืชที่ใช้                   พืชผัก  พืชสวน  พืชไร่  ไม้ผล  มันฝรั่ง  ถั่ว  สตรอเบอร์รี่  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  25%  อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้ตามอัตราที่แนะนำบนฉลาก  ผสมน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช  เมื่อพบเห็นแมลงปากดูดทำลายพืชที่เพาะปลูก  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
การแก้พิษ                ใช้อะโทรปินซัลเฟท  หรือใช้ร่วมกับยาโอบิด๊อกไซม์  คลอร์ไรด์  ในทุก ๆ กรณีที่เกิดพิษ  ควรปรึกษาแพทย์
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  3  สัปดาห์
                             - เป็นอันตรายต่อผึ้ง
                             - เป็นอันตรายเมื่อสัมผัสถูกหรือเมื่อกลืนกินเข้าไป
                             - จะได้ผลดีถ้าฉีดพ่นในตอนเช้าตรู่หรือตอนเย็น ๆ
                             - อย่าผสมกับ  lime  sulphur  หรือ  สารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
                             - ระยะเวลาที่ควบคุมศัตรูพืชได้  10-20  วัน
                             - เข้ากันได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ

ทราโลมีธริน
(tralomethrin)
การออกฤทธิ์             เป็นสารไพรีทรอยด์สังเคราะห์  ออกฤทธิ์กำจัดแมลงในทางสัมผัสและกินตาย
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  1,070  มก./กก.  อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังเกิดอาการระคายเคือง
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        หนอนกัดกินใบฝ้าย  หนอนกัดตายาสูบ  หนอนเจาะสมอ  หนอนคืบ  หนอนกระทู้  เพลี้ยไฟ  หนอนเจาะข้าวโพด  เพลี้ยกระโดด  ตั๊กแตน  และอื่น ๆ
พืชที่ใช้                   ฝ้าย  ถั่วเหลือง  ข้าวโพด  พืชผัก  มะเขือเทศ  มันฝรั่ง  และพืชอื่น ๆ
สูตรผสม                  3%  อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้        ตามคำแนะนำบนฉลาก  ใช้เมื่อมีแมลงปรากฏให้เห็น  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
ข้อควรรู้                    - ไม่เป็นพิษต่อพืช  (non-phyto-toxic)  เมื่อใช้ตามคำแนะนำ
                             - เป็นพิษต่อปลา

ไตรอะโซฟอส
(triaxophos)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนูตัวเมีย)  64  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  มากกว่า  1,100  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        หนอนกินใบ  หนอนเจาะลำต้น  หนอนเจาะสมอ  หนอนหนาม  หนอนกระทู้  หนอนกอ  หนอนม้วนใบ  เพลี้ยหอย  เพลี้ยแป้ง  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยไฟ  แมลงหวี่ขาว  แมลงดำหนาม  มวน  และไส้เดือนฝอย
สูตรผสม                  40%  อีซี  3%  และ  5%  จี  15%  ยูแอลวี
อัตราการใช้               ชนิด  40%  อีซี  กำจัดแมลงทั่วไปใช้อัตรา  40-80  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  สำหรับชนิดอื่น ๆ  ใช้อัตราตามที่แนะนำบนฉลาก
วิธีใช้                       ชนิด  40%  อีซี  ใช้ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  ฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช  เมื่อตรวจพบว่ามีแมลงเริ่มระบาด  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ            ทำให้ผิวหนังระคายเคือง  รวมทั้งที่จมูก  ดวงตาและคอ  อาการของพิษอย่างอื่น  คือ  อ่อนเพลีย  ปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  ท้องเดิน  แน่นหน้าอก  เหงื่อออกมาก  กล้ามเนื้อเกร็ง  ม่านตาหรี่  หายใจขัด
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  หลาย ๆ ครั้ง  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ต้องรีบนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  โดยใช้ขนาด  2  มก.  ฉีดเข้าเส้นโลหิตดำ  และฉีดซ้ำทุก ๆ  10-15  นาที  จนกว่าอาการจะดีขึ้น  อาจใช้  Toxogonin  รักษาร่วมด้วยก็ได้
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  14-21  วัน
                             - ฆ่าแมลงได้รวดเร็วและคงตัวอยู่ในพืชและดินได้นาน  3-4  สัปดาห์
                             - ความคงตัวอาจลดลงภายใต้สภาพอากาศที่ร้อนแห้ง
                             - เป็นอันตรายต่อผึ้งและปลา
                             - สามารถแทรกซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อของใบพืชได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น