วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ตอนที่ 27

ไตรคลอร์ฟอน
(trichlorfon)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงกึ่งออร์กาโนฟอสโฟรัสและออร์กาโนคลอรีน  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  560  มก./กก.  (หนู)  ทางผิวหนัง  (หนู)  มากกว่า  2,000  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        กำจัดได้ทั้งแมลงที่เป็นศัตรูพืช  ศัตรูปศุสัตว์  และในบ้านเรือน  เช่น  หนอนกระทู้  หนอนม้วนใบ  หนอนเจาะลำต้นอ้อย  หนอนชอนใบ  มวนดอกรัก  มวนเขียวข้าว  มวนแดง  เพลี้ยจักจั่น  แมลงหวี่ขาว  ด้วงเง่ากล้วย  เพลี้ยหล่า  แมลงวัน  screwworm  เหา  เห็บ  หมัด  และไร
พืชที่ใช้                   ฝ้าย  กล้วย  องุ่น  ข้าว  ข้าวโพด  ชา  ยาสูบ  กาแฟ  อ้อย  ถั่ว  กะหล่ำปลี  ส้ม  กะหล่ำดอก  พริกไทย  ฟักทอง  ถั่วเหลือง  มะเขือเทศ  โรงเรือนเลี้ยงสัตว์  และ  ปศุสัตว์
สูตรผสม                  95เอสพี
อัตราการใช้               กำจัดแมลงทั่วไป  ใช้อัตรา  15-30  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ศึกษารายละเอียดจากฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้
วิธีใช้                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ            จะมีอาการคลื่นไส้  อาเจียน  น้ำลายไหล  ท้องเดินและชัก
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  ถ้าเข้าปากต้องรีบทำให้คนไข้อาเจียนทันที  โดยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  แล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  และ  2-PAM  จะใช้รักษาร่วมกันก็ได้
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  14-21  วัน
                             - อย่าใช้กับสัตว์ที่มีอายุน้อยกว่า  3  เดือน
                             - อย่าใช้ฉีดพ่นฝาผนังหรือพื้นเรือน  หรือส่วนอื่น ๆ  ของโรงเรือนที่สัตว์อาจเลียได้
                             - ไม่เข้ากับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
                             - อย่าใช้กับสัตว์ที่จะฆ่าเป็นอาหารใน  14  วัน
                             - เป็นพิษต่อผึ้ง
                             - ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ

ไตรฟลูมูรอน
(triflumuron)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางกินตาย  โดยจะเข้ายับยั้งหรือขัดขวางการสร้างสารไคติน  (chitin)  ของแมลง  ทำให้ไข่และตัวอ่อนของแมลงไม่เจริญเติบโต  และตายไปในที่สุด  chitin  synthesis  inhibitor
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  มากกว่า  5,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  มากกว่า  5,000  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        ใช้กำจัดหนอนผีเสื้อ  เช่น  หนอนเจาะฝักถั่ว  หนอนเจาะสมอฝ้าย  หนอนกระทู้  ข้าวโพด  หนอนคืบ  หนอนม้วนใบ  หนอนใยผัก  หนอนด้วง  และ  หนอนแมลงวันในบ่อเก็บมูลสัตว์
พืชที่ใช้                   กะหล่ำปลี  กระเทียม  องุ่น  ข้าวโพด  หอม  ทานตะวัน  ถั่ว  ฝ้าย  ถั่วเหลือง  ส้ม  ชา  กาแฟ  และผักต่าง ๆ
สูตรผสม                  25ดับบลิวพี
อัตราการใช้               ชนิด  25ดับบลิวพี  ใช้อัตรา  20-30  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ศึกษารายละเอียดอัตราการใช้เพิ่มเติมจากฉลาก
วิธีใช้                       ใช้ผสมกับน้ำ  กวนให้ละลายเข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ            ผู้ได้รับพิษอาจมีอาการระคายเคืองดวงตา  ผิวหนัง  และทางเดินหายใจ  มีอาการเหนื่อย  อ่อนเพลีย  การเกร็ง  ท้องเสีย  ชัก  ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับขนาดของวัตถุมีพิษที่ได้รับ
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  หากกลืนกินเข้าไป  ทำให้อาเจียนแล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ทำให้คนไข้อาเจียน  โดยใช้ยา  syrup  of  IPECAC  15  ml  แล้วรักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  14  วัน
                             - เป็นพิษต่อปลา  กุ้ง  และสัตว์น้ำที่มีการลอกคราบ

วามิโดไธออน
(vamidothion)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ประเภทดูดซึมออกฤทธิ์ในทางกินตาย  cholinesterase  inhibitor
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  103  มก./กก.  ทางผิวหนัง  1,160  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยกระโดด  ไรแดง  แมลงหวี่ขาว  มวนแดงฝ้าย  และแมลงปากดูดอื่น ๆ
พืชที่ใช้                   ฝ้าย  ข้าว  ยาสูบ  องุ่น  ไม้ผล  พืชผัก  พืชไร่  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  40เอส  (S)
อัตราการใช้               ใช้อัตรา  40  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  สำหรับพืชทั่วไป  ฝ้ายใช้อัตรา  80  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร
วิธีใช้                       ใช้ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช  เมื่อตรวจพบแมลงศัตรูพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ            ทำให้ผิวหนัง  ดวงตา  และเยื่อบุจมูกระคายเคือง  ถ้าเข้าปากหรือดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะมีอาการมึนงง  เหงื่อออกมาก  น้ำลายไหล  อาเจียน  ท้องเดิน  กล้ามเนื้อท้องเป็นตะคริว  หายใจลำบาก  ตามัว
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ต้องทำให้อาเจียนโดยเร็วด้วยการล้วงคอ  หรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่นแล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  หรือ  pralidoxime
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  6  สัปดาห์
                             - เป็นอันตรายต่อผึ้ง
                             - ห้ามผสมกับ  lime  sulphur  และสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
                             - ฤทธิ์ในทางดูดซึมจะอยู่ได้นาน  3-8  สัปดาห์
                             - ออกฤทธิ์ได้เร็ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น