วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

สารกำจัดวัชพืช(ยาฆ่าหญ้า) ตอนที่ 18

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ  มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี  ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย  สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย"  เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
 (นายยักษ์เขียว)


โมลิเนท
(molinate)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  thiocarbamate : azipine  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกและภายหลังงอก  ออกฤทธิ์ในทางดูดซึมโดยผ่านทางรากได้อย่างรวดเร็ว
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  720  มก./กก.  (หนู)  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  3,536  มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชใบกว้างและหญ้าต่าง ๆ
พืชที่ใช้                   ข้าว
สูตรผสม                  10จี

เอ็มเอสเอ็มเอ
(MSMA)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  organoarsenic  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกและภายหลังงอก  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและดูดซึมเข้าไปในต้นพืช
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  700  มก./กก.  ทำให้ผิวหนังและดวงตาระคายเคืองเล็กน้อย
วัชพืชที่กำจัดได้         หญ้าตีนนก  หญ้าปากควาย  หญ้าขน  หญ้ามาเลย์เซีย  หญ้าปล้อง  หญ้าตีนติด  หญ้ารังนก  หญ้าดอกขาว  หญ้าใบใหญ่  สาบเสือ  สาบแร้งสาบกา  หญ้ายาง  ไมยราบ  สะอึก  วัชพืชใบแคบและใบกว้างอื่น ๆ
พืชที่ใช้                   ยางพารา  ปาล์ม  สวนผลไม้ยืนต้น
สูตรผสม                  66แอล
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตรา  600-800  ซีซี  ผสมกับน้ำ  ฉีดพ่นให้ได้พื้นที่  1  ไร่
อาการเกิดพิษ            ถ้ากลืนกินเข้าไปจะแสบร้อนลำคอ  ลมหายใจจะมีกลิ่นคล้ายกระเทียม  ปวดศีรษะ  อาเจียน  ท้องเสียและมึนงง
การแก้พิษ                ถ้ากลืนกินเข้าไป  ให้รีบล้างท้องด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ  แล้วให้กินถ่านยาพวกซาลีนคาธาลิค  เช่น  โซเดียม  ซัลเฟท  ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

นาโปรพาไมด์
(napropamide)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  anilide  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก  ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม  ยับยั้งการงอกของราก
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  มากกว่า  5,000  มก./กก.  (10%  จี)
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกและวัชพืชใบแคบพวกกก
พืชที่ใช้                   ใช้กำจัดวัชพืชในสวนองุ่น  แปลงกล้ายาสูบ  พริกไทย  มะเขือเทศ  มะเขือ  แอสพารากัสและส้ม
สูตรผสม                  10จี  และ  50ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ                ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - เป็นพิษต่อปลา

แนพทาแลม
(naptalam)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  phthalic-acid  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก  โดยยับยั้งการงอกของเมล็ดวัชพืช
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  1,770  มก./กก.  ทำให้ดวงตาระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชใบกว้างและหญ้าต่าง ๆ
พืชที่ใช้                   ถั่วเหลือง  ถั่วลิสง  องุ่น  แคนตาลูป  แตงกวาและแตงโม
สูตรผสม                  23อีซี  ,  50ดับบลิวพี  และ  10จี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้ตามอัตราและปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก
ข้อควรรู้                    - ไม่กำจัดวัชพืชที่งอกแล้ว
                             - มะเขือเทศและผักกาดหอม  อ่อนแอต่อสารกำจัดวัชพืชนี้มาก
                             - ห้ามใช้กับถั่วเหลืองที่งอกแล้ว
                             - มีประสิทธิภาพอยู่ได้นาน  3-8  สัปดาห์  และจะสลายตัวหมดภายใน  6-8  สัปดาห์
                             - อาจผสมใช้ร่วมกับสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่นได้

ไนตราลิน
(nitralin)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  nitro  compound  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู)มากกว่า  2,000  มก./กก. ทางผิวหนัง  มากกว่า  2,000  มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชใบแคบพวกหญ้าล้มลุกและวัชพืชใบกว้าง
พืชที่ใช้                   ฝ้าย  ถั่วเหลือง  ถั่วเขียว  ถั่วแขก  ถั่วลิสง  และยาสูบ
สูตรผสม                  50ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ                ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    ปัจจุบัน  ไม่มีจำหน่ายในประเทศ

ไนโตรเฟน
(nitrofen)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  diphenyl  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกและภายหลังงอกในธัญพืช
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  ประมาณ  3,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  มากกว่า  2,000  มก./กก.  อาจทำให้ผิวหนังเกิดอาการระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกและหญ้าต่าง ๆ
พืชที่ใช้                   ธัญพืช  ข้าว  ผัก  ไม้ดอกและไม้ประดับ
สูตรผสม                  8จี  และ  25อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ                ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - พืชที่อ่อนแอต่อสารกำจัดวัชพืชนี้  คือ  ผักกาดหอม  มะเขือเทศ  ผักโขม  มะเขือ  และพริกไทย
                             - เป็นพิษต่อปลา
                             - ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น