บท ความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย" เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
(นายยักษ์เขียว)
ดีพีเอกซ์ – แอล - 5300
(DPX – L - 5300)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช sulfon , urea ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 5,000 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างและหญ้าต่าง ๆ
พืชที่ใช้ ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์
สูตรผสม 75% เอสซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ และถ้ามีอาการระคายเคืองให้ปรึกษาแพทย์
ดีเอสเอ็มเอ
(DSMA)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช organoarsenic ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอกโดยทางสัมผัส
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 1,800 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าชนิดต่าง ๆ โดยกำจัดแบบภายหลังงอก
พืชที่ใช้ ฝ้าย ส้ม และกำจัดวัชพืชในพื้นที่มิได้ทำการเพาะปลูก
สูตรผสม 80% เอสพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมน้ำแล้วฉีดพ่นที่ต้นวัชพืชโดยตรง กำจัดวัชพืชในไร่ฝ้าย ควรให้ฝ้ายมีความสูงประมาณ 3-4 นิ้ว จนถึงระยะออกดอก และไม่ควรใช้เกิน 2 ครั้ง ต่อหนึ่งฤดูปลูก
ยาแก้พิษ ยาบีเอแอล (BAL)
ข้อควรรู้ - ไม่กัดกร่อนโลหะ
- ใช้ผสมกับ 2,4-ดี ได้
- ให้ผลดีที่สุดในการกำจัดวัชพืชที่อยู่ในระยะที่เป็นต้นอ่อนและกำลังเจริญเติบโต
อีพีทีซี
(EPTC)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช thiocarbamate ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบประเภทล้มลุกและยืนต้น เช่น หญ้านกสีชมพู กกขนาก ขาเขียด และวัชพืชใบกว้างบางชนิด เช่น ผักปอดนา เป็นต้น
พืชที่ใช้ กำจัดวัชพืชในนาข้าว สวนส้ม ข้าวโพด ฝ้าย องุ่น ถั่ว มันฝรั่ง ทานตะวันและมะเขือเทศ
สูตรผสม 72% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 200-400 ซีซี ผสมน้ำ 40-60 ลิตร ฉีดพ่นให้คลุมพื้นที่ 1 ไร่ ก่อนปลูกพืช 2-4 วัน หรือภายหลังปลูก 6-8 วัน
อาการเกิดพิษ ถ้าเข้าตาจะทำให้น้ำตาไหล มองแสงสว่างไม่ได้ แสบตา ตาแดง และแก้วตาอักเสบ ถ้าถูกผวิหนังอาจทำให้อักเสบ เจ็บร้อน คัน พิษจากการสูดดมจะมีอาการระคายเคืองต่อเยื่อบุจมูก จาม ไอ น้ำมูกไหล มีเสมหะ เจ็บคอ ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป จะมีอาการแสบตามทางเดินอาหาร ปวดท้อง อาเจียน เวียนศีรษะ ชักและหมดสติ
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ถ้ากลืนกินเข้าไป ห้ามทำให้คนไข้อาเจียน นำผู้ป่วยส่งแพทย์ เพื่อล้างท้องด้วยสารละลาย โซเดียม ไบคาร์โบเนท แล้วให้คนไข้กินถ่านยาแอ็คติเวทเต็ด ซาร์โคล หรือแม็กนีเซียม ซัลเฟท แล้วรักษาตามอาการ ห้ามคนไข้ดื่มนมและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่
ข้อควรรู้ - ขณะใช้ถ้าหน้าดินเปียกชื้น ตัวอีพีทีซีจะสูญหายไปด้วยการระเหย
- ห้ามใช้กับพืชอื่นที่ไม่ได้แนะนำ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ถั่วตาดำ ลิมาบีน และถั่วฝักอื่น
- มีประสิทธิภาพในการกำจัดหญ้าได้มากกว่าวัชพืชใบกว้าง
- สลายตัวหมดภายใน 4-6 สัปดาห์ ในสภาพที่ดินร้อนชื้น
- ไม่กัดกร่อนโลหะและยาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น